กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สรุปสาระสำคัญของแนวคิดต่าง ๆในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ | เป้ามาย | เนื้อหา | วิธีสอน | การวัดและการประเมินผล |
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ | ความรู้ความ
สามารถในการใช้ภาษาและกระบวน การเรียนรู้ |
ทักษะทางภาษา
และทักษะการเรียนรู้ |
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้รับการ
ฝึกฝน |
ประเมินผลตามสภาพจริงและใช้
วิธีการที่หลาก หลาย |
เพื่อการสื่อสาร | ทักษะการสื่อสาร
ทั้ง 4 ด้าน |
ภาษาในชีวิต
ประจำวันการเรียนที่มีความหมาย ทักษะสัมพันธ์ |
ภาษาเพื่อการ
สื่อสาร |
ทักษะสื่อสารที่เน้นทั้งความคล่องแคล่ว และความถูกต้อง |
เพื่อวัตถุประสงค์
เฉพาะด้าน |
ทักษะและเนื้อหา
วิชาชีพเฉพาะด้าน |
วิชาการ วิชาชีพ
เฉพาะด้าน |
ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้
ที่ภาระงานเป็นหลัก |
เนื้อหา และทักษะเฉพาะด้าน |
แบบบูรณาการ | การเชื่อมโยงสิ่งที่
เรียนเข้ากับชีวิตจริง และการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง |
ความรู้และทักษะวิชาต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง | ความสัมพันธ์เชื่อมโยงความรู้และทักษะจากวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหา | การมีส่วนร่วมของผู้เรียนการปฏิบัติงานกลุ่มผล
การเรียนรู้ |
แบบร่วมมือ | ส่งเสริมทักษะการ
สื่อสารและทักษะ สังคม |
ไม่ผูกพันกับเนื้อหา(Content -free)สามารถเลือกใช้เนื้อหาใดๆก็ได้ | เน้นกระบวนการกลุ่ม
โครงสร้าง ลำดับวิธีการ ในรูปแบบต่าง ๆ |
ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อนร่วมงาน |
ที่เน้นเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ(CBI) | ภาษาเพื่อการสื่อสารและเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ | การเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆในหลัก
สูตร |
บูรณาการทักษะทั้ง 4 ด้าน
|
ทักษะทางภาษาและเนื้อหาวิชา |
แนวคิดการจัด
การเรียนรู้ |
เป้าหมาย | เนื้อหา | วิธีสอน | การวัดและการประเมินผล |
แบบองค์รวม | การบูรณาการทักษะทางภาษากับบริบทสาระการเรียนรู้อื่นและการพัฒนาองค์รวม | เนื้อหาสาระที่มีความหมายกับผู้เรียน | ผู้เรียนมีส่วนร่วมวางแผนและการมีปฏิสัมพันธ์ | การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผลการเรียนรู้ |
จากการทำโครงการ | การเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับชีวิตจริง | กิจกรรมต่าง ๆในสถานการณ์จริง วิธีการแสวงหาความรู้และการรวบรวมอย่างเป็นระบบ | การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และงานศึกษาค้นคว้าที่ทำร่วมกัน | การวางแผนการทำงานความรับผิดชอบผลสำเร็จของงาน |
ที่เน้นภาระงาน | การลงมือปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ | ใช้ภาระงานเป็นหลัก โดยมุ่งฝึกเนื้อหาหรือทักษะทางภาษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่คาดหวัง | ภาษาเพื่อการสื่อสาร | ความสามารถทางภาษา ความสำเร็จของภาระงานที่ปฏิบัติและการบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ |
การสร้างองค์ความรู้ | การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน | เนื้อหาความรู้
ต่าง ๆที่หลากหลายรอบตัว |
ใช้กลยุทธ์และกลวิธีหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนมี
โอกาสแสดงความสามารถความคิดเห็น |
งานที่มอบหมายให้ทำตามความแตกต่างของ
ผู้เรียน |
แนวคิดการจัด
การเรียนรู้ |
เป้าหมาย | เนื้อหา | วิธีสอน | การวัดและการประเมินผล |
แบบ 4 MAT | พัฒนาการใช้สมองซีกซ้ายซีกขวาและการ
บูรณาการประสบการณ์ |
เนื้อหาความรู้จากวิชาต่าง ๆ | เน้นการบูรณาการความรู้ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมโดยเน้นประสบการณ์ตรง | ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน |
การตอบสนองด้วยท่าทาง(TPR) | การฝึกการจำและการปฏิบัติ | ประโยคคำสั่ง คำศัพท์และไวยากรณ์ | ครูเป็นต้นแบบในการออกคำสั่งให้ปฏิบัติตาม | การสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่ง |
การวัดและการประเมินผล
ในการจัดการเรียนการสอนใด ๆ ก็ตาม การสอนกับการวัดประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ต้นจนอาจกล่าวได้ว่า เมื่อมีการสอนต้องมีการประเมินผลควบคู่ไปด้วยเสมอเพียงแต่วิธีการวัดและการประเมิน อาจเปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัย การประเมินเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นของกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีความหมายมากกว่าการให้เป็นเกรดหรือการให้คะแนนรวม แต่เป็นการหาคำตอบที่สร้างสรรค์ในทางบวก และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับความก้าวหน้าของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบว่า การสอนนั้นบรรลุเป้าหมายในระดับใด ผลจากการประเมินจะนำไปสู่การตัดสินใจ ที่มีต่อโรงเรียนในเชิงบริหาร และการสร้างความเชื่อมั่นในสังคม การประเมินที่ดีส่วนหนึ่ง ต้องเป็นเสมือนเครื่องช่วยในการเรียน และอีกส่วนหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือในการวัด และบ่งบอกถึงความสามารถของผู้เรียนตลอดหลักสูตรตามมาตรฐานการเรียนรู้
หลักการสำคัญในการประเมินผลที่พึงพิจารณา คือ การประเมินผลควรมีลักษณะเป็นระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นคุณลักษณะและความสามารถของผู้เรียนเป็นภาพรวม ผลการประเมินต้องชี้ให้เห็นผลการปรับปรุงการสอนของครูผู้สอน และความสำเร็จของผู้เรียน ตามเป้าหมายของหลักสูตร
บ่งบอกถึงความสามารถในการนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย ไม่แยกเด็ดขาดจาการเรียนการสอน เป็นการให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนแต่ละคน
รู้จักตนเองและมองเห็นแนวทางที่จะปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น โดยเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลตรวจสอบซึ่งกันและกัน เน้นที่การวัดกระบวนการ (Process) เท่า ๆ กับการวัดผลผลิต(Product) ของกระบวนการ เน้นการวัดที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองรวมทั้งการใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา
ข้อมูลที่จะนำมาใช้ประเมินจะต้องได้มาโดยกระบวนการเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับรูปแบบการประเมินผลตามหลักสูตร โดยใช้เครื่องมือ และ วิธีการประเมินที่หลากหลายรูปแบบเลือก นำมาใช้ให้สอดคล้องเหมาะสม กับกระบวนการสอนของผู้สอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด บางครั้งอาจต้องปรับวิธีการ หรือดัดแปลงเครื่องมือวัดเพื่อใช้สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษบางกรณีจำเป็นต้องใช้เทคนิคการประเมินที่ผสมผสานหรือหลากหลายเพื่อ ให้ได้ภาพเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่กว้างและสมบูรณ์ขึ้น
จากกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง ภาระงานด้านการประเมินผลการเรียน ระบบการวัดและประเมินผล ที่สถานศึกษาต้องดำเนินการจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเน้นไปที่การวัดและการประเมินผล ที่จะนำไปสู่การชี้ให้เห็นสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน และสภาพจริงของการเรียนการสอน จากพฤติกรรมที่ผู้เรียนได้แสดงออก ( Student Performance ) สะท้อนให้เห็นความสามารถอย่างหลากหลายในการพัฒนาคนที่ชัดเจนสอดคล้องกับสมรรถภาพที่มีในตนเอง และจากการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งชี้ให้เห็นวิธีการตัดสินใจและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง การใช้กิจกรรมการประเมินตามสภาพจริง ( Authentic Assessment )จะช่วยให้ค้นพบได้ว่าผู้เรียนเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด นอกจากระบบการวัดและประเมินผลจะปรับเปลี่ยนแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน จะต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งมีเพียงครูผู้สอนเป็นบุคคลหลายกลุ่ม ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้เรียน ซึ่งทำหน้าที่ทั้งประเมินตนเองและประเมินเพื่อน (ในกลุ่ม)การประเมินด้วย
ส่วนลักษณะภาษาที่นำมาประเมิน ควรเป็นภาษาที่ใช้ในสถานการณ์การสื่อสารตามสภาพจริง คือ เป็นข้อความสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้ มีความเป็นธรรมชาติอยู่ในบริบท ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความสามารถและประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย การประเมินความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร ควรประเมินความสามารถในการสื่อความหมายจริง ๆ ไม่ควรแยกการใช้ภาษาออกจากสถานการณ์ และควรวัดให้ครอบคลุมองค์ประกอบของภาษา อันประกอบด้วยความรู้เรื่องเสียง คำศัพท์ โครงสร้าง การใช้ภาษาในสถานการณ์ และกลวิธีในการสื่อสาร แนวการประเมินเช่นนี้ช่วยเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตร การสอน และการประเมิน
ในการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ สถานศึกษาจะต้องทำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของของสถานศึกษาไว้ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน และเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันสถานศึกษาต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งใน ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และใช้เป็นข้อมูลในการสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน และสถานศึกษาแก่ผู้เกี่ยวข้องต่อไป