หลักสูตรปฐมวัย

หลักสูตรปฐมวัย

ระดับการศึกษาปฐมวัย  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3 – 5   ปี

          หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความ สามารถของแต่ละบุคคล

          จุดมุ่งหมาย

                   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี   มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม

และ สติปัญญา  ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้

  1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
  2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
  3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
  4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
  5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
  6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
  7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
  8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
  10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

สาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่ที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กที่เด็กมีโอกาสใกล้ชิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ จะไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือกระบวนการจำเป็นต้องบูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้ รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น

สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน   ดังนี้

1.ประสบการณ์สำคัญ

ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิดทักษะ ที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้  โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ บุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบตัวรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สำคัญ มีดังนี้

1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย  ได้แก่

1.1.1 การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์

การเล่นเครื่องเล่นสนาม

1.1.2 การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก

– การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส                                                                                                                    – การเขียนภาพและการเล่นกับสี                                                                                   ,                – การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ด้วนดินเหนียว ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ                                                                                                              – การต่อของ บรรจุ เท และแยกชิ้นส่วน

1.1.3 การรักษาสุขภาพ                                                                                                                                 – การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย

1.1.4 การรักษาความปลอดภัย                                                                                            ‘              – การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ  ได้แก่

1.2.1  ดนตรี

 – การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี                                                                               ‘         – การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ

1.2.2 สุนทรียภาพ

การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม

การแสดงอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว/เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ

1.2.3 การเล่น

– การเล่นอิสระ

– การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม

– การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

1.2.4 คุณธรรม จริยธรรม

– การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ

       1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม  ได้แก่

1.3.1 การเรียนรู้ทางสังคม

– การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง

– การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

– การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ

– การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น

– การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

– การแก้ปัญหาในการเล่น

– การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย

                     1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา   ได้แก่

1.4.1 การคิด

– การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น

– การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่างๆ

– การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย และรูปแบบต่างๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง

– การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่น และผลงาน

– การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ ต่างๆ

1.4.2 การใช้ภาษา

– การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

– การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง

– การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง

– การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน

– การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก เขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร  เขียนเหมือนสัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง

– การอ่านในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กอ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน เรื่องราวที่สนใจ

1.4.3 การสังเกต  การจำแนก  และการเปรียบเทียบ

– การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ

– การจับคู่  การจำแนก และการจัดกลุ่ม

– การเปรียบเทียบ  เช่น ยาว/สั้น ขรุขระ/เรียบ ฯลฯ

– การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

– การคาดคะเนสิ่งต่างๆ

– การตั้งสมมติฐาน

– การทดลองสิ่งต่างๆ

– การสืบค้นข้อมูล

– การใช้หรืออธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

1.4.4 จำนวน

– การเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน

– การนับสิ่งต่างๆ – การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง

– การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ

1.4.5 มิติสัมพันธ์ (พื้นที่ ระยะ)

– การต่อเข้าด้วยกัน  การแยกออก การบรรจุและการเทออก

– การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด  ภาพถ่ายและรูปภาพ

– การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน

– การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่างๆ

– การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด  ภาพถ่ายและรูปภาพ

1.4.6 เวลา

– การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ

– การเปรียบเทียบเวลา เช่น  ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ

– การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ

– การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู

  1. สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้  เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา  ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยในเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก สาระที่เด็กอายุ 4 – 5 ปี ควรเรียนรู้ ดังนี้

  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเด็กควรรู้จักชื่อนามสกุล  รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง ๆ  วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียว หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและแสดงมารยาทที่ดี
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็กเด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวสถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ  ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต   รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ
  4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กเด็กควรจะได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ด้านร่างกาย

  1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
  2. กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์กัน
  3. มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

ด้านอารมณ์ จิตใจ

  1. มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับวัย
  2. กล้าแสดงออก ทางศิลปะดนตรีเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
  3. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
  4. รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม และความเป็นไทย
  5. นักเรียนเห็นคุณค่าของงานศิลปะ

ด้านสังคม

  1. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

ด้านสติปัญญา

  1. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  2. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
  4. นักเรียนทุกคนมีทักษะกระบวนการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  5. นักเรียนทุกคนเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรง