กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

               แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

  มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเนื่องจาก

  • ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาวิชา และฝึกทักษะด้านการเรียนได้สะดวก  รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเอง สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
  • เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม  และค่านิยมที่ดีต่อการเรียนด้านสุขภาพ

รูปแบบในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่นำเสนอนี้  สามารถนำมาประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม  ได้สัมผัสกับแนวคิด  เหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นจริง    ได้คิดได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์  รวมถึงการให้โอกาสเพื่อนำสิ่งที่เรียนไปประสานกับสิ่งที่เคยเรียนมาก่อน  เน้นการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

      1.5  ยุทธศาสตร์กระบวนการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

        ในการพัฒนาผู้เรียนให้ครบถ้วนนั้น  จำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์กระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาทุกด้านเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ  ร่างกาย  สติปัญญา  สังคม  และจิตวิญญาณ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาได้กำหนดกรอบการใช้ยุทธศาสตร์กระบวนการเรียนการสอน  3  ประการคือ

  • ยุทธศาสตร์กระบวนการคิด
  • ยุทธศาสตร์กระบวนการปฏิบัติ
  • ยุทธศาสตร์กระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

ยุทธศาสตร์กระบวนการเรียนการสอน

พัฒนาสมองกระบวนการคิด

(ด้านความรู้)

พัฒนากายกระบวนการปฏิบัติ(ด้านทักษะ/กระบวนการ) พัฒนาจิตกระบวนการพัฒนา(ด้านคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยม)
มาตรฐาน  3  ข้อ มาตรฐาน  4  ข้อ มาตรฐาน  2  ข้อ
·  คิดไตร่ตรอง

·  คิดอย่างมีวิจารณญาณ

·  คิดสร้างสรรค์

·  ปฏิบัติจริง

·  มีส่วนร่วม

·  บันทึกผลปฏิบัติ

·  ประเมินตนเอง

·  รายงานผล

·  ทักษะชีวิต

·  สงบจิต  สมาธิ

·  จินตนาการ

·  สุนทรีย์

·  ปฏิบัติจริง

ผู้เรียนมีสุขภาพและสุขนิสัยที่ดี  เป็นคนเก่ง  คนดี  และมีความสุข

แนวทางการพัฒนางานสุขภาพในสถานศึกษา

เนื่องจากโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เด็กมีโอกาสเรียนรู้ด้วยกิจกรรมและประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียนหรือในชุมชน  ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ในวิชาสุขศึกษา  โรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายและกว้างขวางให้แก่เด็ก  ไม่ใช่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในห้องเรียนเท่านั้น  หลักสูตรวิชาสุขศึกษาจึงครอบคลุม  ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ  บริการทางสุขภาพ  และการเรียนการสอนสุขศึกษา  ซึ่งรวมกันเรียกว่า  “งานสุขภาพในโรงเรียน”   ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เต็มตามศักยภาพของตน  อันจะส่งผลให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจได้อย่างแท้จริง

เพื่อให้วิชาสุขศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาตรฐานทางวิชาการและสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในเชิงปฏิบัติมากที่สุด  จึงเสนอแนวทางการพัฒนางานสุขภาพในโรงเรียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

  1. เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนางานสุขภาพในโรงเรียนให้มีผลในเชิงปฏิบัติได้อย่างสมบูรณทั้งผลทางสุขภาพ ผลทางการศึกษา  และผลทางการบริหาร
  2. เพื่อเป็นคู่มือหรือแนวทางให้โรงเรียนสามารถรักษาระดับมาตรฐานสูงสุดของงานสุขภาพในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ  และถาวรยั่งยืนตลอดไป
  3. เพื่อเป็นดัชนีและเครื่องชี้วัดที่ช่วยกระตุ้นให้โรงเรียนที่ยังไม่สามารถดำเนินงานไปถึงระดับมาตรฐานสูงสุดได้สำรวจตรวจสอบและมองเห็นทิศทางในการพัฒนางานสุขภาพได้อย่างชัดเจน
  4. เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในการประเมินคุณภาพทั้งการศึกษาโรงเรียนทั่วไปทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

หลักในการพิจารณาและตรวจสอบ

การจัดระดับมาตรฐานของงานสุขภาพในโรงเรียนนี้จำเป็นต้องตรวจสอบและพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานสุขภาพที่ปรากฏขึ้นจริงตามรูปธรรม  และสามารถรับรู้พฤติกรรมสุขภาพได้ตามรายการขององค์ประกอบ  4  ประการ  ดังต่อไปนี้

  • การจัดสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพในโรงเรียน
  • การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
  • การเรียนการสอนสุขศึกษา
  • การบริหารงานสุขภาพในโรงเรียน

รายการที่ใช้ประเมินงานในแต่ละองค์ประกอบ

การจัดสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพในโรงเรียน

  1. การดูแลรักษาอาคารและสถานที่ทั่วไปให้สะอาดเรียบร้อยและสวยงาม
  2. การจัดน้ำดื่ม น้ำใช้ และที่ล้างมือให้นักเรียนอย่างเพียงพอ
  3. การจัดห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เพียงพอและดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
  4. การจัดวางท่อหรือวงระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบ
  5. การจัดทำบ่อกักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากโรงครัวและโรงอาหาร
  6. การจัดทำบ่อซึมหรือบ่อเกรอะเพื่อกำจัดน้ำทิ้งหรือน้ำเสีย
  7. การกำจัดมลภาวะและสิ่งรบกวนหรือเหตุรำคาญภายในโรงเรียน
  8. การจัดการจัดโต๊ะเรียน ม้านั่ง และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ถูกสุขลักษณะ
  9. การสร้างบรรยากาศและสัมพันธภาพอันดีเพื่อให้เด็กเรียนอย่างมีคุณภาพ
  10. การดูแลแก้ไขปัญหาการจราจรภายในโรงเรียนให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย
  11. การวางมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุภายในโรงเรียน
  12. การจัดให้มีคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยภายในโรงเรียน
  13. การจัดให้มีเครื่องมือสำหรับดับเพลิงเตรียมพร้อมไว้ตามจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
  14. การจัดสนามกีฬาและบริเวณต่าง ๆ ภายในโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยและปลอดภัย
  15. การจัดเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับทำความสะอาดโรงเรียนอย่างครบถ้วน
  16. การร่วมรณรงค์กับชุมชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสาธารณสถาน
  17. การปรับปรุงดูแลแก้ไขห้องเรียนและห้องกิจกรรมอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน

  1. การจัดให้นักเรียนทุกคนมีบัตรสุขภาพและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  2. การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูประจำชั้นอย่างสม่ำเสมอ
  3. การตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่แพทย์หรือพนักงานสาธารณสุขเป็นครั้งคราว
  4. การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียนตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  5. การทดสอบสายตานักเรียนพร้อมทั้งการให้คำแนะนำและแก้ไข
  6.   การจัดห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลเพื่อให้บริการสุขภาพแก่นักเรียน
  7. การจัดให้มีบริการการตรวจฟันและรักษาโรคฟันผุโดยทันตแพทย์หรือทันตมัย
  8. การจัดให้มีบริการตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการแก่นักเรียนทุกคนในโรงเรียน
  9. การขจัดโครงการตรวจสุขภาพจิตและการทดสอบทางด้านจิตวิทยา
  10.   การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่นักเรียนตามความจำเป็นในระยะเวลาที่เหมาะสม
  11. การจัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
  12. การจัดบริการแนะแนวสุขภาพและให้คำแนะนำแก่นักเรียน
  13. การติดตามผลการรักษาพยาบาลนักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
  14. การร่วมมือรณรงค์กับชุมชนในการป้องกันสิ่งเสพย์ติดให้โทษ
  15. การร่วมมือรณรงค์กับชุมชนในการป้องกันโรคเอดส์
  16. การเตรียมแผนและสิ่งอำนวยความสะดวกในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
  17. การจัดโครงการช่วยเหลือเด็กพิการหรือมีความบกพร่องทางสุขภาพ

การเรียนการสอนสุขศึกษา

  1. การใช้วิธีสอนหรือกิจกรรมที่หลากหลายสอนวิชาสุขศึกษา
  2.  การเตรียมแผนการสอนและใช้สื่อสุขศึกษาที่เหมาะสม
  3. การบูรณาการเนื้อหาสาระทางสุขภาพผสมผสานเข้าไปในวิชาอื่น
  4. การสอนสุขศึกษาโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม
  5. การใช้สื่อการสอนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลากหลายประกอบการสอน
  6. การใช้อุปกรณ์ประเภทเทคโนโลยีที่ทันสมัยประกอบการสอน
  7. การใช้แหล่งวิชาการทางด้านสาธารณสุขในชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการสอน
  8. การพานักเรียนไปทัศนศึกษาหรือฝึกปฏิบัติงานนอกสถานที่ในชุมชน
  9. การเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาบรรยายหรือสาธิตในบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
  10. การใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อส่งเสริมการสอนสุขศึกษา
  1. การให้นักเรียนจัดทำโครงงานทางด้านสุขภาพเพื่อเสริมการสอนสุขศึกษา
  2. การสอนให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตจริงอย่างได้ผล
  3. การวัดผลประเมินผลการสอนสุขศึกษาตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน
  4. การจัดนิทรรศการทางด้านสุขภาพให้สอดคล้องกันความต้องการของนักเรียน
  5. การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
  6. การจัดสิ่งแวดล้อมและบริการสุขภาพให้เอื้ออำนวยต่อการสอนสุขศึกษา
  7. การให้นักเรียนทำแฟ้มสะสมงานประกอบการเรียนการสอนสุขศึกษา

การบริหารงานสุขภาพในโรงเรียน

1.การจัดให้มีครูทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานสุขศึกษาในโรงเรียนโดยเฉพาะ

2.การมีคณะกรรมการสุขภาพในโรงเรียนที่ประกอบด้วยบุคคลทั้งในและนอกโรงเรียน

3.การจัดงานสุขภาพในโรงเรียนทุกด้านรวมเข้าด้วยกันเป็นโปรแกรมหรือองค์รวม

4.การมีครูอนามัยมีวุฒิสุขศึกษาหรือวุฒิพยาบาลดูแลเรื่องสุขภาพประจำโรงเรียน

5.การจัดครูวุฒิการศึกษาโดยตรงทำการสอนสุขศึกษามีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง

6.การร่วมมือจากทางบ้านและชุมชนเพื่อพัฒนาสุขภาพของนักเรียน

7.การติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด

8.การส่งเสริมกลุ่มนักเรียนหรือชมรมที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพ

9.การติดตามและประเมินผลงานสุขภาพของโรงเรียนและนำมาปรับปรุงแก้ไข

10.การสนใจและการเอาใจใส่เรื่องงานสุขภาพในโรงเรียนของคณะครูอาจารย์

  1. การสนับสนุนให้ครูอาจารย์เข้าร่วมสัมมนาหรือประชุมปฏิบัติการทางด้านสุขศึกษา
  2. การสนับสนุนทางด้านสุขภาพจากสมาคมผู้ปกครองและครู
  3. การสนับสนุนทางด้านสุขภาพของคณะกรรมการการศึกษาของโรงเรียน
  4. การสนับสนุนและช่วยเหลือจากหน่วยงานสาธารณสุขภายในท้องถิ่น